เทคนิคเกรซหน้าเค้กให้เเวววาวดุจผลไม้แท้
อุปกรณ์
- พิมพ์ซิลิโคนรูปแอปเปิ้ล (Apple Silicone Mold)
- พิมพ์ซิลิโคนรูปครึ่งวงกลม (Silicone Mold)
- เครื่องปั่นผสมแบบมือ (Electric Handle Mixer)
- เครื่องตีผสมอาหารแบบตั้งโต้ะ (Stand Mixer)
- พายยาง (Rubber Scraper)
- เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer)
วัตถุดิบ
- เดบิค วิปปิ้งครีม (Debic Whipping Cream) 70 มิลลิลิตร
- ไวท์ช็อกโกแลต (White Chocolate) 100 กรัม
- เจลาตินแผ่น (Gelatin Sheet) 3 แผ่น
- แอปเปิ้ลเพียวเร่ (Apple Puree) 100 กรัม
- น้ำตาลทรายขาว (Caster Sugar) 50 กรัม
- กลูโคส (Glucose) 100 กรัม
- สีผสมอาหารจากธรรมชาติ (Food Color) 1-2 หยด
ขั้นตอนการทำ
เริ่มต้นจากการแช่เจลาตินในน้ำเย็น 5 – 10 นาที เพื่อให้เจลาตินดูดน้ำหรือพองอย่างเต็มที่
การละลายน้ำตาล ควรเลือกใช้ไฟปานกลาง เพื่อป้องการการเกิดน้ำตาลไหม้
การนำเจลาตินออกมาใช้หลังจากนำไปแช่น้ำเย็นเสร็จ ต้องบีบน้ำส่วนเกินออกจากเจลาตินให้ได้มากที่สุด
เพื่อไม่ให้ส่วนผสมอื่นเจือจาง
เพื่อไม่ให้ส่วนผสมอื่นเจือจาง
การใส่วิปปิ้งครีมเข้ากับแอปเปิ้ลเพียวเร่ ควรใส่ในช่วงที่เเอปเปิ้ลเพียวเร่เย็นตัวแล้ว
เพื่อให้ส่วนผสมทั้งสองส่วนไม่แยกออกจากกัน
เพื่อให้ส่วนผสมทั้งสองส่วนไม่แยกออกจากกัน
การคนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ต้องค่อย ๆ คนช้า ๆ และปล่อยไว้ให้เย็นจนถึงอุณหภูมิห้อง
35°C – 36°C เพื่อให้ได้เกรซที่เนียนและเงา
35°C – 36°C เพื่อให้ได้เกรซที่เนียนและเงา
มูสที่จะนำมาเคลือบเกรซจะต้องเป็นมูสที่มีความเย็นจัด เพื่อให้เกรซเคลือบมูสได้ดีและเงาสวย
โดยเทเกรซจากตรงกลางแล้ววนให้ทั่ว เพื่อให้เกรซจับตัวกับมูสเค้กได้ดี
โดยเทเกรซจากตรงกลางแล้ววนให้ทั่ว เพื่อให้เกรซจับตัวกับมูสเค้กได้ดี
ข้อควรระวังในการเกรซหน้าเค้ก
❌
ไม่ควรใช้ไฟแรงในการต้มน้ำตาล เพราะจะส่งผลให้น้ำตาลไหม้❌
ไม่ควรเคลือบเกรซในตอนที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่า 36 – 38 °C เพราะจะส่งผลให้มูสเค้กละลายหรือหน้าเค้กหนา ไม่เรียบเนียนสวยได้❌
ไม่ควรใช้มูสเค้กที่นำออกจากห้องแช่แข็งไว้นานแล้ว ควรถอดออกจากพิมพ์แล้วทำการเกรซในทันที