เทคนิคการทำมูสเลเยอร์เค้ก
ไอเดียสำหรับเทศกาลลอยกระทง
อุปกรณ์
- กระดาษรองอบ (Baking Pan)
- ถาดอบขนมขนาด 30×40 เซนติเมตร (Baking Pan Size 30×40 Centimeter)
- เครื่องชั่งดิจิตอล (Scale Digital)
- ตะกร้อมือ (Whisk)
- พายยาง (Rubber Scraper)
- หม้อสแตนเลสขนาดกลาง (Stainless Steel Pot)
- หลอดบีบอาหารสำหรับหยอดสี (Piping Bags)
- พิมพ์สแตนเลสขนาด 2 ปอนด์ (Stainless Steel Mold Size 2 Pound)
วัตถุดิบ มูสมะพร้าวใบเตย
- เดบิค วิปปิ้งครีม (Debic Whipping Cream) 280 กรัม
- กะทิ (Coconut Milk) 400 กรัม
- น้ำตาลทรายขาว (Caster Sugar) 40 กรัม
- เจลาตินแผ่น (Gelatin Sheet) 4 แผ่น
- สีเขียวใบเตย (Color Pandon) 10 – 15 กรัม สำหรับผสมเฉดสี
ขั้นตอนการทำ
- โดยแบ่งปริมาณต่อไปนี้ลงในชาม:
- ส่วนที่ 1: มูสมะพร้าว 140 กรัม
- ส่วนที่ 2: สีเขียวใบเตย 1 กรัม : มูสมะพร้าว 120 กรัม
- ส่วนที่ 3: สีเขียวใบเตย 2 กรัม : มูสมะพร้าว 120 กรัม
- ส่วนที่ 4: สีเขียวใบเตย 3 กรัม : มูสมะพร้าว 100 กรัม
- ส่วนที่ 5: สีเขียวใบเตย 4 กรัม : มูสมะพร้าว 80 กรัม
เริ่มต้นจากการแช่เจลาตินในน้ำเย็น 5 – 10 นาที เพื่อให้เจลาตินดูดน้ำหรือพองอย่างเต็มที่
ตั้งกะทิ น้ำตาล และใบเตย โดยใช้ไฟปานกลางเพื่อป้องกันน้ำตาลไหม้
บีบน้ำส่วนเกินออกจากเจลาตินให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ส่วนผสมอื่นเจือจาง
ตีวิปปิ้งครีมโดยใช้ความเร็วปานกลางประมาณ 3 – 5 นาที
เพื่อให้ได้วิปครีมตั้งยอดกลาง (Medium Peak)
แบ่งวิปครีมเป็น 3 ส่วน ลงตะล่อมกับกะทิที่ต้มพักไว้
โดยใช้ตะกร้อมือค่อย ๆ ตะล่อมจนเนียน
โดยใช้ตะกร้อมือค่อย ๆ ตะล่อมจนเนียน
แบ่งมูสมะพร้าวเป็น 5 ส่วน ใส่ภาชนะสำหรับผสมสี โดยชั่งตามอัตราส่วนที่ใช้ในแต่ละเลเยอร์
เพื่อนำไปผสมกับสีเขียวใบเตยให้ได้เฉดสีที่แตกต่างกัน
เพื่อนำไปผสมกับสีเขียวใบเตยให้ได้เฉดสีที่แตกต่างกัน
ใช้ดรอปเปอร์ค่อย ๆ สีเขียวใบเตยลงในมูสมะพร้าวที่แบ่งไว้
จะช่วยให้สามารถปรับความเข้มของสีได้ง่าย
แนะนำให้ใช้สีเจล จะสามารถละลายเข้ากับเนื้อมูสได้ง่ายกว่าสีแบบผง
- โดยแบ่งปริมาณต่อไปนี้ลงในชาม:
- ส่วนที่ 1: มูสมะพร้าว 140 กรัม
- ส่วนที่ 2: สีเขียวใบเตย 1 กรัม : มูสมะพร้าว 120 กรัม
- ส่วนที่ 3: สีเขียวใบเตย 2 กรัม : มูสมะพร้าว 120 กรัม
- ส่วนที่ 4: สีเขียวใบเตย 3 กรัม : มูสมะพร้าว 100 กรัม
- ส่วนที่ 5: สีเขียวใบเตย 4 กรัม : มูสมะพร้าว 80 กรัม
บีบมูสมะพร้าวส่วนที่ 1 จากตรงกลาง และค่อย ๆ วนออกด้านนอก
โดยจังหวะมือที่บีบต้องมีความต่อเนื่องกัน
บีบมูสมะพร้าวที่ผสมสีเขียวใบเตยชามที่ 2 – 5 ลงไป
โดยค่อย ๆ วนให้วงเล็กลงตามรูปแบบเลเยอร์ที่ต้องการ
และนำไปแช่แข็ง 6 – 8 ชั่วโมง หรือข้ามคืน
โดยค่อย ๆ วนให้วงเล็กลงตามรูปแบบเลเยอร์ที่ต้องการ
และนำไปแช่แข็ง 6 – 8 ชั่วโมง หรือข้ามคืน
เกรซ (Galze) เคลือบผิวสำหรับตกแต่ง
ต้องใช้มูสที่เย็นจัด เพื่อให้เกรซเคลือบมูสได้ดี และสวยงาม
ข้อควรระวังในการทำมูสเลเยอร์เค้ก
❌
ไม่ควรควรตีวิปครีมให้ได้ยอดอ่อนมากเกินไป เนื่องจากเบสของมูสมีความเป็นลิกขวิดมากกว่า หากตีได้ยอดอ่อนมากเกินไปจะส่งผลให้ได้วิปที่เนื้อเหลวเกิน❌
ไม่ควรใช้สีแบบผง เพราะจะทำให้ละลายเข้ากับมูสได้ยาก❌
ไม่ควรใช้ช้อนในการหยดสี เนื่องจากสีแต่ละยี่ห้อมีความเข้ม และลักษณะที่แตกต่างกัน เนื้อกะทิที่ใช้อาจจะมีความข้นหนืด และยี่ห้อที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าสีคลาดเคลื่อน แนะนำให้ใช้ดรอปเปอร์ค่อย ๆ หยด จะช่วยให้ปรับสีได้ง่ายขึ้น